ประกันรถยนต์ภาคบังคับคืออะไร ? จำเป็นแค่ไหนสำหรับเจ้าของรถ

เจ้าหน้าที่มาให้รายละเอียดเกี่ยวกับประกันรถยนต์ภาคบังคับคืออะไร

การมีรถยนต์ ไม่ใช่แค่เรื่องภาระผ่อนจ่ายหรือหมั่นดูแลเครื่องยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึง “ความรับผิดชอบทางกฎหมาย” ที่เจ้าของรถทุกคนต้องใส่ใจ ซึ่งหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลยก็คือ การทำ “ประกันรถยนต์ภาคบังคับ” หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี

แต่สำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่หัดขับ อาจจะยังไม่เข้าใจว่า ประกันรถยนต์ภาคบังคับคืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง และมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน บทความนี้จะมาช่วยให้เข้าใจมากขึ้น พร้อมแนะนำสิ่งที่ควรรู้ก่อนจะต่อพ.ร.บ. ในครั้งต่อไป

ประกันรถยนต์ภาคบังคับคืออะไร ?

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ (Compulsory Motor Insurance) คือประกันภัยที่กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องมี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยครอบคลุมถึงเจ้าของรถ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคนเดินถนน หากเกิดอุบัติเหตุ

แม้ พ.ร.บ. จะไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถหรือทรัพย์สิน แต่ถือเป็นการให้ความคุ้มครองเบื้องต้นต่อชีวิตและร่างกายของผู้ประสบภัยในกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นเงื่อนไขบังคับสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ หากไม่ทำอาจมีโทษปรับสูงสุดถึง 10,000 บาท

ประกันรถยนต์ภาคบังคับคุ้มครองอะไรบ้าง ?

ประกันรถยนต์ภาคบังคับให้ความคุ้มครองในสองส่วนหลัก คือ ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน ดังนี้

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

ได้รับทันทีโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก

  • ค่ารักษาพยาบาล กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามจริงไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • ค่าชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร จ่ายเป็นเงิน 35,000 บาทต่อคน
  • ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต จ่ายเป็นเงิน 35,000 บาทต่อคน

ค่าเสียหายเบื้องต้นต้องรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน 

คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

ได้รับหลังจากมีการพิสูจน์ได้ว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก โดยจะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามเหตุการณ์ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ จ่ายตามจริงไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
  • ค่าชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าทดแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 - 500,000 บาท/คน ขึ้นอยู่กับความรุนแรง
  • ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน
  • กรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลแบบผู้ป่วยใน จะได้รับค่าชดเชยรายวันวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับไม่คุ้มครองความเสียหายของตัวรถหรือทรัพย์สินที่อยู่ในรถ ดังนั้นหากต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากขึ้น ควรพิจารณาทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติม

เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบความเสียหายรถยนต์ และให้ความรู้เรื่องประกันรถยนต์ภาคบังคับคือสิ่งจำเป็น

Q&A พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ

หลายคนอาจยังมีคำถามเกี่ยวกับประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือพ.ร.บ. ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรหากต้องการจะซื้อหรือเคลมประกันภัยรถยนต์ เรารวบรวมคำตอบมาให้แล้ว 

ซื้อ พ.ร.บ. ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?

การซื้อประกันรถยนต์ภาคบังคับจำเป็นต้องเตรียมเอกสารสำคัญ ได้แก่

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มตัวจริง
  • ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (สถานตรวจสภาพรถเอกชน) ในกรณีที่รถยนต์มีอายุ 7 ปีขึ้นไป 
  • ใบตรวจเช็กสภาพถังแก๊ส (กรณีรถติดแก๊สเท่านั้น)

ซื้อ พ.ร.บ. ราคาเท่าไร ?

สำหรับราคาของ พ.ร.บ.รถยนต์โดยสาร จะขึ้นอยู่กับประเภทของรถ เช่น รถเก๋ง รถกระบะ หรือรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ราคา 600 บาท
  • รถตู้ จำนวน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคา 1,100 บาท
  • รถโดยสาร เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคา 2,050 บาท
  • รถโดยสาร เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,200 บาท
  • รถโดยสาร เกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,740 บาท

เคลม พ.ร.บ. อย่างไร ?

  1. ติดต่อบริษัทประกันภัยที่เราได้ซื้อ พ.ร.บ. ทันทีที่เกิดเหตุ ผ่านสายด่วนเคลมประกัน ซึ่งมักจะระบุไว้ในกรมธรรม์ เพื่อทำการแจ้งเคลมและบอกเหตุการณ์
  2. แจ้งความกับตำรวจ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอุบัติเหตุ เพื่อเป็นหลักฐานในการเคลม
  3. เตรียมเอกสารสำหรับแจ้งเคลมประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
  4. • สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
  5. • สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. • สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
  7. • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)
  8. • ใบแจ้งความ หรือ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  9. • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.
  10. พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครองค่าเสียหายต่าง ๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น หรือ ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรม ภายใน 7 วันทำการ

ทำไม พ.ร.บ. ถึงสำคัญ ?

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ไม่ใช่เพียงข้อบังคับทางกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักประกันความรับผิดชอบที่ผู้ใช้รถทุกคนพึงมีต่อสังคม การทำประกันภัยชนิดนี้จะช่วยให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือทางการเงินอย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและความเดือดร้อนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

อย่างไรก็ตาม ด้วยวงเงินคุ้มครองที่จำกัด การพิจารณาทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจควบคู่กับประกันรถยนต์ภาคบังคับ จึงเป็นตัวเลือกที่ช่วยให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมและเพียงพอต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้


เมื่อรู้แล้วว่า ประกันรถยนต์ภาคบังคับคือสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ก็ถึงเวลาตรวจสอบว่า พ.ร.บ. ของคุณว่าครบกำหนดหรือยัง หากใกล้หมดอายุ สามารถเข้ามาที่ MeeDee แพลตฟอร์มที่ช่วยให้คุณซื้อประกันรถยนต์ภาคบังคับได้ง่าย ๆ ในราคาโปร่งใส ทำเองได้ในไม่กี่นาที สะดวก ปลอดภัย หรือถ้าใครอยากทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติม ก็สามารถเข้ามาเช็กข้อมูลพร้อมเปรียบเทียบราคาได้ทันทีเช่นกัน !

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. การประกันภัยรถยนต์คืออะไร?. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 จาก https://www.tgia.org/insurance/motor
Image
Image
Image

พูดคุยกับที่ปรึกษามืออาชีพที่คุณไว้วางใจ

ด้วยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของเรา การเลือกสิ่งต่างๆ จึงไม่เคยง่ายขนาดนี้มาก่อน.

Section Icon

มีคำแนะนำเฉพาะสำหรับคุณ

รับคำแนะนำที่ตรงกับความต้องการและเป้าหมายเฉพาะของคุณ

Section Icon

ให้คำตอบที่ชัดเจนและเจาะลึก

รับคำอธิบายที่ครอบคลุมและช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

Section Icon

คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่คุณไว้วางใจ

รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูงในวงการประกันภัย